แนวคิด

                       วิทยานิพนธ์เรื่อง “สาระและร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่” นี้ เป็นผลงานจิตรกรรมเทคนิคผสมระหว่างการปะติดวัสดุและการระบายสีฝุ่น ที่เป็นการแสดงออกของอารมณ์ และความรู้สึกเหงา อ้างว้างของตัวเอง ที่แฝงด้วยความรู้สึกสุข เบิกบานที่จะได้พักผ่อนหลังจากการทำงานหนัก และเฝ้ารอคอยความหวังที่จะส่งผลดีให้กับตนเองและคนอื่นในอนาคตข้างหน้า โดยสร้างเป็นจิตรกรรมทิวทัศน์ท้องทุ่งแห่งใหม่ในความรู้สึกที่ผ่านการกลั่นกรอง ลดตัดทอนให้เหลือเพียง สื่อ และ ทัศนธาตุ ที่จำเป็นในการแสดงออกถึงความรู้สึกและความหมาย นั่นคือ ร่องรอยไถแปร ในผลงานยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา ที่สามารถดำเนินอยู่ได้ในการเปลี่ยนแปลงของเวลาและฤดูกาลทางธรรมชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนา ให้ผู้ดูนั้นเกิดความเห็นอกเห็นใจคนที่ประกอบอาชีพทำนา

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : ฤดูใหม่ หมายเลข 5

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน,หญ้า,เศษฟาง) และสีฝุ่น
ขนาด : 123 x 177 ซม.

ชื่อภาพ : ฤดูไถใหม่ (การปรับเปลี่ยนพื้นที่)

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน,หญ้า,เศษฟาง) และสีฝุ่น
ขนาด : 158 x 280 ซม.

ชื่อภาพ : ภาพสะท้อน(ฝน)

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 124 x 150 ซม.

ชื่อภาพ : ภาพสะท้อนหมายเลข 3

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 122 x 244 ซม.

ชื่อภาพ : แสงเย็น

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 141 x 200 ซม.

ชื่อภาพ : ฤดูใหม่ หมายเลข 6

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 135 x 380 ซม.

ชื่อภาพ : วิถีสัมพันธ์(วิถี--คน-ธรรมชาติ)

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 183 x 488 ซม.

ชื่อภาพ : ดินดําน้ำชุ่ม

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 135 x 200 ซม.

ชื่อภาพ : ดินดําน้ําชุ่ม หมายเลข 2

เทคนิค : ปะติดวัสดุ(ขี้เลื่อย,ดิน) และสีฝุ่น
ขนาด : 175 x 280 ซม.